1. ที่มาและความสำคัญ:

โครงการปลูกป่าพันธุ์ไม้หายาก โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นโครงการที่สืบสานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ ฯ ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ต่อมาโครงการดังกล่าวเปลี่ยนชื่อเป็นสวนป่าพันธุ์ไม้หายากมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และปลูกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นรู้จักคุณค่าของทรัพยากรพันธุ์ไม้ ปัจจุบันสวนป่าพันธุ์ไม้หายากมีไม้ต้นจำนวน 163 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นไม้ต้นที่มีความสูงประมาณ 6-10 เมตร ได้ดำเนินการตามกรอบการเรียนรู้ดังนี้ คือ

กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร

จัดกิจกรรมบูรณาการเรียนการสอนและอบรมให้สอดคล้องกับเนื้อหาในรายวิชาที่เปิดสอน ได้แก่ ชีววิทยาทั่วไป นิเวศวิทยา การเก็บรวบรวมตัวอย่างสิ่งมีชีวิต สัณฐานและกายวิภาคของพืช เป็นต้น และกิจการนักศึกษาในการเข้ามาใช้สถานที่ เพื่อให้นักศึกษาและบุคคลที่สนใจได้รู้จักและคุ้นเคยกับทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น ประกอบด้วย

1.1. กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช

ปลูก อนุรักษ์ ดูแลรักษา และรวบรวมพันธุ์ไม้ที่มีอยู่เดิม พร้อมทั้งจัดหาพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ เพื่อปลูกทดแทนต้นที่ตายไป เนื่องจากสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสมในการเจริญเติบโต

1.2. กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช

จัดอบรมการเก็บรักษาพรรณไม้แห้งไว้ในหอพรรณไม้ที่ก่อตั้ง ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรพส. เพื่อการจัดจำแนกและการบ่งชี้ชนิดที่ถูกต้องตามหลักการ โดยวิทยากรที่มีความรู้และความชำนาญ

กรอบการสร้างจิตสานึก

จัดกิจกรรมให้ความรู้ และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชให้กับนักศึกษา โดยกิจกรรมของโครงการมุ่งเน้นการใช้องค์ความรู้ในหลายสาขาวิชา เช่น ชีววิทยา จุลชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ประยุกต์ต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา บุคลากรในมหาวิทยาลัย และบุคคลทั่วไป มีความรู้ และเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช สามารถเข้าถึงพันธุ์ไม้ในสวนป่าได้ง่าย สามารถสร้างอาชีพและใช้ประโยชน์จากพันธุ์ไม้ที่มีในท้องถิ่นได้ อีกทั้งยังรักษาศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากพืช ซึ่งส่งผลต่อการสร้างจิตสำนึกรัก หวงแหน และตระหนักถึงความสำคัญของพันธุ์พืชที่มีในท้องถิ่น

2. ตำแหน่งที่ตั้ง

โครงการสวนป่าพันธุ์ไม้หายาก ตั้งอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามส่วนทะเลแล้ว โดยอยู่เยื้องทางด้านหลังฝั่งซ้ายของหอประชุมศรีวชิรโชติ มีเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่

3. วัตถุประสงค์

  1. เพื่อร่วมสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  2. เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้คุณลักษณะพืชแต่ละชนิด ประโยชน์ และเพื่อเผยแพร่ และสืบสานงานโครงการแนวพระราชดำริฯ
  3. เพื่อปลูกจิตสำนึกเยาวชน และคนในชุมชนให้รู้จักคุณค่าและหวงแหนพันธ์พืชของชุมชน

4. ข้อมูลพรรณไม้ = ป้ายชื่อพันธุ์ไม้ (กำลังดำเนินการ)

5. แผนผังพันธุ์ไม้ = (กำลังดำเนินการ)